การหลอกลวง ทางอินเตอร์เน็ต รายงานสำรวจเรื่อง “การหลอกลวง ทางอินเตอร์เน็ต” หน่วยงานของสหรัฐ อเมริกาที่ชื่อว่า “National Fraud Information Center” ซึ่งมีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน เกี่ยวกับการ ซื้อขายสินค้าและบริการทางอินเตอร์เน็ต พบว่าในช่วง ครึ่งหลังของปีเดียวกันมีการร้องเรียนเป็นจำนวนทั้งสิ้น 20,014 เรื่อง และเมื่อรวมมูลค่าความเสียหายตลอดทั้งปี คิดเป็นเงิน 3,387,530 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือความเสียหาย เฉลี่ยต่อบุคคลคิดเป็นจำนวนเงิน 427 ดอลลาร์สหรัฐฯ เรื่องที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุด 5 ลำดับแรก คือ การประมูลสินค้าทางอินเตอร์เน็ต (Internet Auctions) (78%), การ ซื้อสินค้าทั่วไป (10%), การให้ บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Access Services) (3%), การประกอบธุรกิจ ที่บ้าน (Work-At-Home) (3%) และ การให้สินเชื่อล่วงหน้า (Advance Fee Loans) (2%) ตามลำดับ และจากการ สำรวจที่ผ่านมา พบว่าผู้บริโภคได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นเป็น จำนวนเงิน 4,371,724 ดอลลาร์สหรัฐฯ
การใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่อง มือในการหลอก ลวงมีหลายวิธีการ ตั้งแต่วิธีการดั้งเดิมที่อาจพบโดยทั่วไป ไปจนถึงวิธีการที่สลับซับซ้อน ผู้หลอกลวงใช้ความรู้ทาง เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด หรือก่อให้ เกิดความเสียหายแก่สาธารณชน แม้ว่าผู้บริโภคจะมีความรู้ทางเทคโนโลยี แต่ก็อาจไม่รู้เท่าทัน หรือไม่ ทราบถึงวิธีการหลอกลวงดังกล่าว จึงอาจได้รับความ เสียหายได้ ดังนั้นการทำความเข้าใจถึงรูปแบบของ การหลอกลวงที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ และเสนอ แนะวิธีป้องกัน จะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคทำให้สามารถ ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้งจะช่วยสร้างความ เชื่อมั่นให้กับทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ดียิ่งขึ้นด้วย
รูปแบบของการหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ต
รูปแบบของการหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ต มีลักษณะและวิธีการป้องกันโดยสรุป ดังนี้
1. การประมูลสินค้าทาง อินเตอร์เน็ต โดยการหลอกลวง (Internet Auction Fraud)
การ โฆษณาขายสินค้าทาง อินเตอร์เน็ตด้วยวิธีการประมูลสินค้า ผู้ซื้อที่สนใจจะเข้าร่วมการประมูล มักต้องลงทะเบียนเป็นสมาชิกของ เว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หลังจาก นั้นจะได้รับหมายเลขสมาชิกและรหัสผ่าน (password) ผู้ซื้อจะต้องเสนอราคาซื้อแข่งขันกับผู้ซื้อรายอื่น เมื่อเสร็จสิ้น การประมูล ถือว่ามีการทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ประมูล และผู้เสนอขาย โดยจะมีการส่งข้อความทางอีเมล์ (e-mail) แจ้งให้ผู้ซื้อและผู้ขายทราบผลการประมูล และแจ้ง รายละเอียดที่จะติดต่อกันได้ เพื่อให้ทั้งฝ่ายผู้ซื้อและ ผู้ขายติดต่อกัน ในเรื่องการชำระเงินและการส่งมอบสินค้า
ลักษณะการหลอกลวง
การ ประมูลสินค้าทางอินเตอร์เน็ตเป็นวิธีการ ซื้อขายสินค้าที่ได้รับความนิยม และเป็นช่องทางการติดต่อ ซื้อขายสินค้าที่สะดวกรวดเร็ว ในรายงานสำรวจที่ กล่าวมาแล้วของบางประเทศพบว่า เป็นวิธีการหลอกลวง ที่พบมากที่สุดเช่นกัน การหลอกลวงมีหลายรูปแบบ เช่น ผู้ขายไม่ส่งมอบสินค้าที่ผู้ซื้อประมูลได้ เพราะไม่มีสินค้า อยู่จริง, การหลอกลวงโดยการปั่นราคาซื้อขาย ผู้ขาย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ขายจะเข้าเสนอราคา เพื่อ ประมูลสินค้าของตนให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น ทำให้ผู้ซื้อต้อง ซื้อสินค้าในราคาที่สูงเกินจริง เป็นต้น ความเสียหายที่อาจ เกิดขึ้น ผู้ซื้อได้ชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายแล้ว แต่ยัง ไม่ได้รับสินค้า หรือได้รับสินค้าที่ชำรุดเสียหาย หรือเป็น สินค้าที่มีลักษณะไม่ตรงกับที่มีการเสนอขายแต่แรก ด้านผู้ให้บริการประมูลทางอินเตอร์เน็ตเองก็อาจได้รับความ เสียหาย เพราะผู้ใช้บริการ (ผู้ซื้อ และผู้ขาย) ไม่ให้ความ ไว้วางใจและไม่ใช้บริการ
วิธีการป้องกัน
ผู้ซื้อควรตรวจ สอบว่า เว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ บริการด้านการประมูลทางอินเตอร์เน็ต (คนกลาง) มีวิธีการ ระบุตัวบุคคลที่เป็นผู้ขาย (หรือผู้ซื้อ) ดีพอหรือไม่ กล่าวคือ มีการเก็บประวัติรายละเอียดของผู้ขายที่สามารถติดต่อได้หรือพิจารณาว่าผู้ ให้บริการด
้านการประมูลทางนเตอร์เน็ต (คนกลาง) มีนโยบายการประกันความเสียหายที่อาจ เกิดขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสินค้าที่มีมูลค่า ค่อนข้างสูง
2. การให้บริการอินเตอร์เน็ตโดยหลอกลวง (Internet Service Provider Scams)
ผู้ หลอกลวงจะส่งเช็ค จำนวนหนึ่ง (เช่น ราว 3.5 ดอลลาร์ สหรัฐฯ) ให้แก่ผู้ใช้บริการ เมื่อมีการเบิกเงิน ตามเช็คแล้ว ก็ถือว่าผู้บริโภคตกลงที่จะใช้บริการ ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider - ISP) ที่ได้รับแจ้ง ในการนี้อาจจะไม่มีการแจ้งค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายใดๆ และมักเป็นการทำ สัญญาให้บริการอินเตอร์เน็ตที่มีระยะ เวลานาน ผู้หลอกลวงจงใจให้ผู้บริโภค หรือผู้ใช้บริการเกิดความสับสน และเข้าใจผิดในสาระ สำคัญเกี่ยวกับการบริการนั้น กล่าวคือเมื่อผู้บริโภคเข้าทำ สัญญาดังกล่าวแล้ว จะถือว่ายินยอมตามเงื่อนไขทุก ประการที่ระบุไว้ การหลอกลวงดังกล่าวนี้มักพบในประเทศ ที่มีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหลายรายและมีบริการที่หลากหลาย
ลักษณะการหลอกลวง
ผู้ บริโภคถูกเรียกเก็บเงินค่าบริการต่างๆ จาก ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ยังอาจจะมีคำขู่ที่ กล่าวว่า ถ้าหากผู้ใช้บริการต้องการเลิกสัญญาก่อนครบ กำหนดสัญญา จะถูกปรับเป็นจำนวนเงินที่สูง ความเสีย หายที่อาจเกิดขึ้น ผู้บริโภคถูกเรียกเก็บเงินค่าบริการต่างๆ จากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ยังอาจจะมีคำขู่ ที่กล่าวว่า ถ้าหากผู้ใช้บริการต้องการเลิกสัญญา ก่อนครบ กำหนดสัญญา จะถูกปรับเป็นจำนวนเงินที่สูง
วิธีการป้องกัน เมื่อผู้บริโภคได้รับเช็คโดยไม่ทราบสาเหตุที่ ชัดเจนแล้ว ไม่ควรทำข้อตกลงใดๆ กับบุคคลอื่น แต่ควร ศึกษารายละเอียดของเอกสารหรือข้อตกลงที่ส่งมาโดยถี่ถ้วน ตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะถูกเรียกเก็บให้ครบถ้วน และควรติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตโดยตรง
3. การใช้บัตรเครดิตโดยไม่ได้รับอนุญาต (Credit Card Fraud)
การ ชำระค่าสินค้า ค่าบริการทางอินเตอร์เน็ตที่ได้ รับความนิยมที่สุดวิธีหนึ่งคือ การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต เนื่องจากมีความสะดวกแก่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ผู้ซื้อสามารถ ชำระเงินโดยการให้ข้อมูลบัตรเครดิตคือ หมายเลขบัตร เครดิต ชื่อ-สกุลของผู้ถือบัตร และวันหมดอายุแก่ร้านค้า ร้านค้าสามารถตรวจสอบได้เพียงว่า บัตรดังกล่าวเป็นบัตร ที่ออกโดยผู้ออกบัตรจริง แต่ไม่สามารถตรวจสอบตัวบุคคล ผู้ใช้บัตรได้ว่าเป็นบุคคลใด
ลักษณะการหลอกลวง
วิธีการ หลอกลวงเกี่ยวกับการชำระเงินด้วย บัตรเครดิตทางอินเตอร์เน็ตมีหลายวิธี ตัวอย่างเช่น การให้ บริการดูภาพลามกอนาจาร โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (ตามกฎหมายอเมริกา) แต่ผู้บริโภคต้องแจ้งข้อมูลบัตรเครดิตให้ผู้ให้บริการทราบ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล แล้วผู้หลอกลวงจะ ใช้ข้อมูลนี้ไปกระทำผิดในที่อื่น ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ผู้ถือบัตรที่เป็นผู้บริโภคถูกเรียกเก็บเงินค่าสินค้า หรือบริการ จากบริษัท หรือธนาคารผู้ออกบัตร ทั้งๆ ที่ผู้ถือบัตรไม่ได้ใช้บัตรเครดิต ชำระรายการนั้นๆ เลย ซึ่งกฎหมาย บางประเทศจะให้ความคุ้มครองผู้ถือบัตร ในกรณีนี้ หรือผู้ถือบัตรรับผิดไม่เกิน จำนวนเงินที่กำหนดไว้ในข้อตกลง ระหว่างผู้ออกบัตรและผู้ถือบัตร
วิธีการป้องกัน
ผู้ถือ บัตรเครดิตไม่ควรแจ้งข้อมูลบัตรเครดิตให้ บุคคลอื่นทราบ แต่หากต้องมีการชำระเงินด้วยบัตร เครดิต ทางอินเตอร์เน็ต ก็ควรเลือกร้านค้าที่มีความน่าเชื่อถือ หรือมี หลักแหล่งที่แน่นอนสามารถติดต่อได้ หรือผู้บริโภคอาจ เลือกใช้บัตรที่มีวิธีการตรวจสอบตัวบุคคลผู้ใช้บัตรว่า เป็นผู้ถือบัตร เช่น การใช้รหัสประจำตัว (PIN) หรือรหัสใดๆ ที่ไม่ปรากฎอยู่บนบัตร แต่ถือเป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือบัตร ที่ไม่เปิดเผยให้บุคคลอื่นทราบ นอกจากนี้ผู้ถือบัตรควร ตรวจดูข้อตกลงที่ทำไว้กับผู้ออกบัตรด้วยว่ามีเงื่อนไขความ รับผิดชอบอย่างไร
4. การเข้าควบคุม การใช้โมเดมของบุคคลอื่น (International Modem Dialing/ Modem Hijacking)
ลักษณะการหลอกลวง
การ โฆษณาการให้บริการสื่อลามกอนาจารโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ผู้ใช้บริการจะต้องติดตั้งโปรแกรม คอมพิวเตอร์เพื่อดูภาพดังกล่าวหรือเรียกว่า ‘viewer’ หรือ ‘dialer’ ของผู้ให้บริการ เมื่อผู้ใช้บริการเปิดดูภาพด้วย โปรแกรมข้างต้นแล้ว การทำงานของโปรแกรมดังกล่าว จะเริ่มเมื่อมีการใช้เครื่องโมเดม(modem) ในขณะเดียวกัน โปรแกรมฯ จะควบคุมการทำงานของโมเดม และสั่งให้ หยุดการทำงาน โดยที่ผู้ใช้ บริการไม่รู้ตัว แล้วจะสั่งให้มี การต่อเชื่อมผ่านโมเดมอีกครั้ง โดยเป็นการใช้โทรศัพท์ทาง ไกลจากที่ใดที่หนึ่ง แล้ว มีการใช้อินเตอร์เน็ตอีกครั้ง จากที่นั่น เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถดูเว็บไซต์ ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ผู้ใช้บริการจะถูกเรียกเก็บเงินค่าโทรศัพท์ ทางไกลจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ผู้ใช้บริการ อาจไม่รับรู้ ซึ่งเป็นเพราะมีบุคคลอื่นลักลอบใช้โทรศัพท์ โดยอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าว
วิธีการป้องกัน
ผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงไม่ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการให้บร
ิการ ใดๆ โดยไม่เสีย ค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูเว็บไซต์ที่มีข้อมูลภาพ ลามกอนาจาร ควรตรวจสอบเงื่อนไขและค่าใช้จ่ายต่างๆ ถ้าพบสิ่งผิดปกติ ต้องแจ้งระงับการใช้งานกับผู้ให้บริการ ทันที นอกจากนั้นผู้ใช้บริการควรตรวจสอบใบแจ้งหนี้ ค่าบริการโทรศัพท์อย่างสม่ำเสมอ
5. การหลอกลวงให้ใช้บริการเกี่ยวกับเว็บไซต์ (Web Cramming)
ลักษณะการหลอกลวง
การ หลอกลวงว่ามีการให้บริการเปิดเว็บเพจ (web page) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เช่น การเปิดเว็บเพจ เป็นเวลา 30 วัน และไม่มีข้อผูกพันใดๆ ถ้าไม่ใช้บริการต่อไป ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการตกลงใช้บริการ ดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้บริการจะถูกเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการ โทรศัพท์ หรือค่าใช้บริการในการ มีเว็บเพจ (ค่าธรรมเนียมการ ใช้พื้นที่) เป็นจำนวนมากทั้งๆ ที่ตนไม่เคยใช้บริการ หรือไม่ได้ สมัครแต่อย่างใด ผู้ใช้บริการ ยังไม่สามารถแจ้งให้ผู้ให้บริการ ยกเลิกได้ทันทีอีกด้วย
วิธีการป้องกัน
ผู้ บริโภคควรตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้บริการ และเลือกใช้บริการที่มีความน่าเชื่อถือเท่านั้น (กรณีนี้ มักพบในประเทศที่มีผู้ให้บริการโทรศัพท์จำนวนมาก เช่น ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น)
6. การหลอกลวงโดยใช้การตลาดหรือการขาย แบบตรง (Multilevel Marketing Plans/ Pyramids)
ลักษณะการหลอกลวง
การ หลอกลวงในลักษณะนี้คล้ายคลึงกับการทำสื่อโฆษณาในการทำตลาดหรือการขายตรง โดยมีการชักชวนให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วมเป็นสมาชิกในเครือข่ายธุรกิจ โดยการกล่าวอ้างว่าผู้ขายจะได้รับสิทธิในการจำหน่ายสินค้าหลายชนิด และได้รับผลประโยชน์จากการขายสินค้าหรือชักชวนบุคคลอื่นเข้ามาเป็นตัวแทนขาย ตรงเป็นท
อดๆ ทำให้ผู้ที่ได้รับระโยชน์จริงมีจำนวนน้อยราย ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ผู้บริโภคที่เข้าร่วมเครือข่ายจะต้องชำระค่าสมาชิกจำนวนหนึ่งแต่จะไม่มีราย ได้ประจำแ
ต่อย่างใด รายได้ของผู้บริโภคจึงไม่แน่นอนและมักจะไม่ได้รับผลประโยชน์ตามที่ผู้หลอกลวงกล่าวอ้
างเพราะไม่สามารถขายสินค้าได้ตามเป้าหมาย
วิธีการป้องกัน
ผู้บริโภคควรระมัดระวังในการสมัครเป็นสมาชิกหรือตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่ต้องหาสมาชิก
รายอื่นเพิ่มขึ้นหรือต้องจำหน่ายสินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูงให้ได้ตามยอดจำหน่ายที่ก
ำหนด เพราะอาจถูกหลอกลวงได้
7. การหลอกลวงโดยเสนอให้เงินจากประเทศ ไนจีเรีย (Nigerian Money Offers)
ลักษณะการหลอกลวง
ผู้ ใช้อินเตอร์เน็ตจะได้รับข้อความจากจดหมายหรืออีเมล์ (e-mail) จากบุคคลที่กล่าวอ้างว่ามีความสำคัญ ในประเทศไนจีเรีย ขอความช่วยเหลือในการโอนเงินจำนวน มากไปยังต่างประเทศ โดยผู้บริโภค จะได้รับเงินส่วนแบ่งจำนวนนับล้าน เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ข้อความใน จดหมายหรืออีเมล์มีเนื้อหาทำนองว่า ประชาชนในประเทศไนจีเรียไม่สามารถ เปิดบัญชีเงินฝากในต่างประเทศ หรือโอนเงินออกนอกประเทศที่มีมูลค่าราว 10 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ ได้ หรือรัฐบาลไนจีเรียต้องการทำธุรกิจกับ ชาวต่างชาติจึงต้องการความช่วยเหลือจากชาวต่างชาติ ในการเปิดบัญชีเงินฝากประเภทกระแสรายวัน ที่เบิกด้วย เช็ค ซึ่งท่านจะได้รับค่าตอบแทน หรือค่านายหน้า ผู้บริโภค เพียงแต่แจ้งรายละเอียดของบัญชีเงินฝากของตน และ กรอกเอกสารพร้อมทั้งลงลายมือชื่อของเจ้าของบัญชีเท่านั้น ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการแจ้งข้อมูลบัญชีเงิน ฝากแล้ว ผู้บริโภคจะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่า ใช้จ่ายในการดำเนินการตลอดเวลา โดยให้ผู้บริโภคโอนเงินเข้าบัญชีที่แจ้งไว้ ผู้ที่หลอกลวงจึงสามารถเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ โดยอ้างเอกสารมอบอำนาจของเจ้า ของบัญชี แต่การโอนเงินลักษณะนี้อาจทำไม่ได้ใน ประเทศไทย เว้นแต่จะเป็นการโอนเงินระหว่างบัญชีของธนาคารเดียวกันทางอินเตอร์เน็ต
วิธีการป้องกัน
ผู้บริโภคไม่ควรหลงเชื่อบุคคลอื่นที่อ้างตัวและเสนอจะให้ผลประโยชน์จำนวนมหาศาลโดยไม
่มีความเสี่ยงเช่นนี้และ ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลบัญชีธนาคารของตนแก่ผู้อื่นด้วย
8. การหลอกลวงให้ประกอบธุรกิจที่บ้าน (Work-at-Home)
ลักษณะการ หลอกลวง
บริษัท ที่หลอกลวง จะเชิญชวนให้ผู้ต้องการประกอบธุรกิจทางอินเตอร์เน็ต หรือธุรกิจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สมัครเป็นสมาชิกเพื่อทำธุรกิจโดยผู้บริโภคมีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์และ สามารถใช้อิน
เตอร์เน็ตจากที่บ้านได้ และมักอ้างว่าธุรกิจประเภทนี้เป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วในขณะที่ผู้บริโภคจะไม
่ได้ร ับคำแนะนำในการทำธุรกิจ ไม่มีข้อมูลธุรกิจที่ชัดเจน หรือไม่ทราบว่าตนอาจไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ เลย ผู้ถูกหลอกลวง จะถูกเรียกเก็บเงินค่าสมาชิก หรือซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อ เริ่มทำธุรกิจ ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับ เงินค่าตอบแทนตามที่มีการกล่าวอ้าง และอาจต้องสูญเสีย เงินจากการลงทุนอีกด้วย
วิธีการป้องกัน
ผู้ที่ต้องการลง ทุนหรือต้องการเป็นเจ้าของกิจการ ควรศึกษาหรือสอบถามรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่จะ ลงทุนการจ่ายเงินค่าตอบแทนที่ผู้บริโภคจะได้รับที่มีกำหนด เวลาที่แน่นอน รวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่จะต้องจ่ายใน การเริ่มต้นทำธุรกิจ และผู้บริโภคควรระวังไม่หลงเชื่อ คำเชิญชวนของผู้ที่อ้างว่าเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้จำนวนมาก ภายในระยะเวลาสั้นๆ
9. การหลอกลวงให้จดทะเบียนโดเมนเนม (domain name egistration scams)
ลักษณะการหลอกลวง
ผู้ที่ต้องการทำธุรกิจทางอินเตอร์เน็ตที่ต้องการมีเว็บไซต์และโดเมนเนมของตนเองจะได้
รับ การเสนอแนะว่าท่านสามารถได้รับสิทธิ ในการจดทะเบียนโดเมนเนมในระดับบนที่เรียกว่า “Generic Top-Level Domain’ หรือ gTLDได้แก่ .com, .org, .net, .int, .edu, .gov, .mil, .aero, .biz, .coop, .info, .museum, .name, and .pro เป็นต้น ก่อนบุคคลอื่น และถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจองโดเมนเนมที่ต้องการซึ่งในความเป็นจริง ไม่มีการใ
ห้บริการ ในลักษณะดังกล่าว ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นผู้ที่หลงเชื่ออาจได้รับความเสียหายเพราะได้ชำระเงินให้แก
่ผู้ที่หลอกลวง โดยไม่ได้รับสิทธิหรือประโยชน์ตามที่กล่าวอ้าง
วิธีการป้องกัน
หลีกเลี่ยงการใช้บริการการขอจดทะเบียนโดเมนเนมล่วงหน้าที่ให้การรับรองว่าจะได้รับสิ
ทธิ ในการเลือกโดเมนเนมประเภทนี้ (gTLD) ก่อนบุคคลอื่น และไม่ควรหลงเชื่อคำโฆษณาควรติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการยื่นขอจดทะเบียนจาก ผู้รับจดทะ
เบียนที่ได้รับสิทธิภายในประเทศ หรือเว็บไซต์ของ ICANN (Internet Corporation forAssignedNames and Numbers) (www.icann.org) ควรใช้บริการจดทะเบียนโดเมนเนมกับหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ เช่น ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต,บริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ หรือใช้บริการของ“ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายแห่งประเทศไทย” (Thailand Network Information Center – THNIC) (www.thnic.net)
10. การหลอกลวงโฆษณาหรือขายยามหัศจรรย์ (miracle products)
ลักษณะการหลอกลวง
การ โฆษณาหรือขายยาทางอินเตอร์เน็ตที่อ้างสรรพคุณว่าสามารถรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง, โรค ภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV/AIDS),โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ หรือสามารถบรรเทาความเจ็บป่วยได้ภายในระยะเวลาอันสั้น และมักอ้างว่ายาเหล่านี้ ได้รับ การรับรองหรือการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วความ เสียหายที่อาจเกิดขึ้น ผู้ป่วยที่ซื้อยาดังกล่าวโดยเชื่อว่า สามารถรักษาความเจ็บป่วยได้ อาจต้องสูญเสียเงิน หรือโอกาสในการได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง นอกจากนั้น ยังอาจได้รับอันตรายจากการใช้ยาเหล่านั้นด้วย
วิธีการป้องกัน
การใช้ยารักษาโรคควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือ เภสัชกรเท่านั้น
ที่มา : ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (www.ecommerce.or.th)