เศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์
เริ่มเป็นที่รุ้จักในปี 2001 จากหนังสือ The Creative Economy: How People Make Money from Ideas ของ John Howkins ที่ได้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์และเศรษฐศาสตร์
ในมุมมองของ Howkins ทั้งความคิดสร้างสรรค์และเศรษฐกิจต่างไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่สิ่งที่ใหม่ก็คือ การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งนี้ และการใช้ความคิดสร้างสรรค์ร่วมไปกับแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อสร้างมูลค่า และความมั่งคั่ง (value and wealth)
ด้วยความที่แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ ยังอยู่ระหว่างการศึกษาและพัฒนาโดยรัฐบาลในหลายประเทศ จึงยังไม่มีคำนิยามที่ชัดเจนในปัจจุบัน
ล่าสุดในรายงานของอังค์ถัด (UNCTAD) เรื่อง CREATIVE ECONOMY REPORT 2008 ได้ให้คำนิยามของเศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ไว้ว่าเป็น แนว คิดที่พูดถึงศักยภาพในการใช้สินทรัพย์ทางความคิดสร้างสรรค์ (creative assets) เพื่อพัฒนาและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เอื้อให้เกิดการสร้างรายได้ และเพิ่มยอดการส่งออก ขณะเดียวกันก็ยังรวมถึงการมีส่วนร่วมทางสังคม ความหลกหลายทางวัฒนะธรรม และการพัฒนาทรัพยาการมนุษย์ด้วย
นอกจากนี้อังค์ถัด ยังได้ให้คำจำกัดควาของอุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Creative industry) ว่าเป็น วงจรของการสร้างสรรค์ การผลิต และการจำหน่ายสินค้าและบริการที่มีปัจจัยหลักคือความคิดสร้างสรรค์และทุนทาง ปัญญา (intellectual capital)
กลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้คำจำกัดความดังกล่าว หรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงระหว่างกันจะประกอบไปด้วย กลุ่มองค์ความรู้ตั้งต้น เช่น ศิลปหัตถกรรม, กลุ่มการแสดงศิลปะ เช่น การละคร, กลุ่มสิ่งพิมพ์และวรรณกรรม เช่น หนังสือ, กลุ่มดนตรี, เช่น คอนเสิร์ต และซีดี, กลุ่ม Visual Arts เช่น ภาพยนตร์และโทรทัศน์, กลุ่มงานออกแบบ เช่น สถาปัตยกรรม และกลุ่ม ดิจิตอลและมัลติมีเดีย เช่น ซอฟแวร์ และเกม
คำขงเบ้ง
14 ปีที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น